วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัยครั้งที่ 4

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 4
วันที่ 29 เดือน สิงหาคม ปี 2559 เวลาเรียน 14:30 - 17:30น.


ความรู้ที่ได้รับ

การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก   ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ 
ความสำคัญของการสื่อสาร
1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
รูปแบบของการสื่อสาร








องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ
2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา
3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง
4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ 
ประเภทของการสื่อสาร
1.จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร
2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
การสื่อสาร
- การสื่อสารกับตนเอง
- การสื่อสารระหว่างบุคคล
- การสื่อสารสาธารณะ
- การสื่อสารมวลชน
- การสื่อสารในครอบครัว
- การสื่อสารในโรงเรียน
- การสื่อสารในวงสังคมทั่วไป
สรุป
การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพนับเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้งานการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ ผู้ที่เป็นครูจะต้องทำความเข้าใจเรื่องการสื่อสารให้กระจ่างชัดเจน ประกอบกับการศึกษาธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครอง พฤติกรรมการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้ทำการให้ความรู้ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองได้ดีมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความศรัทธา



คำถามท้ายบท

1.จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ    การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก   ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
           ความสำคัญของการสื่อสารคือ การทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย สร้างมิตรภาพที่อบอุ่นและช่วยให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
2.การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ      การสื่อสารช่วยให้การให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ ผู้ปกครองเข้าใจวิธีการอบรมเลี้ยงดูลูกอย่างถูกวิธีการและช่วยส่งเสริมลูกให้มีพัฒนาการที่เจริญเติบโตตามวัย
3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ      รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล คือ มีผู้ส่งสาร สาร สื่อ ผู้รับสาร  ผล
              ตัวอย่างเช่น นายก. ส่งข้อความโดยใช้ โทรศัทพ์ ไปหานายข. นายข.รับข้อความแล้วตอยกลับมาหานายก.
4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ    ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้
ผู้ปกครองมีความต้องการที่จะเรียนรู้
ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุดในสิ่งที่เขาสนใจ
การเรียนรู้จะมีความหมายที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวของผู้ปกครอง
การมีอิสระในการเรียนรู้จะทำให้ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุด
ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้จากกันและกัน
การให้ความรู้กับผู้ปกครองถือเป็นการให้ประสบการณ์ใหม่แก่ผู้ปกครอง

5.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
ตอบ    ปัจจัย 7 ประการเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
          1.ความพร้อม  คือ สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่พร้อมจะเรียนรู้
          2.ความต้องการ คือ ความต้องการให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข 
          3.อารมณ์และการปรับตัว คือ  แนวโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มี 2 ประเภทคือ  อารมณ์ทางบวก เช่น ดีใจ พอใจ ฯลฯ อารมณ์ทางลบ เช่น โกรธ เสียใจ หงุดหงิด  ซึ่งอารมณ์ทั้ง 2 นี้มีผลต่อการเรียนรู้ ดังนั้นควรปรับอารมณ์ให้เกิดความสมดุลพร้อมที่จะเรียนรู้
            4. การจูงใจ หมายถึง การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
            5. การเสริมแรง คือ การสร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครอง
             6. ทัศนคติและความสนใจ คือ การที่บุคคลมีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อ
             สิ่งเร้าต่างๆ
            7. ความถนัด คือ ความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

การนำไปประยุกต์ใช้
- การสื่อสารกับผู้ปกครองของเด็ก
- การสื่อสารกับผู้ร่วมงาน
- การสื่อวารกับคนทั่วไป

ผลการประเมิน

การประเมินตนเอง
- เข้าเรียนตรงเวลา
- ตั้งใจเรียนและมีความสุกในการเรียน
- ร่วมทำกิจกรรมในชั้นเรียน


การประเมินเพื่อน
 - เพื่อนตั้งใจเรียนทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน

การประเมินอาจารย์

- อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา
- อาจารย์จัดกิจกรรมในชั้นเรียนได้สนุกเกิดการเรียนรู

การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัยครั้งที่ 3

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 3

วันที่ 22 เดือน สิงหาคม ปี 2559 เวลาเรียน14:30 - 17:30น.





*******ศึกษาหาความรู้เอง********

การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัยครั้งที่ 2

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 2

วันที่ 15 เดือน สิงหาคม ปี 2559 เวลาเรียน 14:30 - 17:30น.




ความรู้ที่ได้รับ
หลักเบื้องต้นในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
เป็นการสร้างเครือข่ายทางการศึกษาทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างบ้านกับโรงเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการศึกษาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
     การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก
     เพราะเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองจึงเป็นการช่วยเหลือพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่เตรียมตัวจะเป็นพ่อแม่ให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการในการดูแล อบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่เด็ก เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า เพื่อการพัฒนาตนต่อไปในอนาคต
ความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
1. เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
    2. เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก
    3. ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  4. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
    5. ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง
วัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
1. เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
    2. เพื่อให้ความรู้และวิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
    3. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
    4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน

    5. เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน
รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
- การให้ความรู้แบบทางการ (formal)  เช่น การบรรยาย  การอภิปราย การโต้วาที ฯลฯ
    - การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ (informal) เช่น การระดมสมอง การประชุมโต๊ะกลม การประชุมกลุ่มย่อย
สรุปลักษณะของฐานการเรียนรู้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
    1. การใช้บ้านเป็นฐานในการเรียนรู้ 
2. การใช้โรงเรียนเป็นฐานในการเรียนรู้ 
3. การใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้ 
แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
1.การวางแผน
2.การดำเนินการประชุม
3.ประเมินผลการประชุม
4.การออกจดหมายข่าวผลการประชุม
แนวปฏิบัติของสถานศึกษา
1. รับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกที่ผู้ปกครองมีกับลูก
  2. ขณะที่พูดคุยกับผู้ปกครองเด็ก ไม่ใช้เป็นการพูดถึงเด็กในทางที่ไม่ดีเท่านั้น แต่ควรพูดถึงในสิ่งที่ดีที่เด็กสามารถพัฒนาขึ้นมาก
  3. ควรหลีกเลี่ยงคำอธิบายหรือใช้คำศัพท์ทางวิชาการในการอธิบายพูดคุยกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง

การนำไปประยุกต์ใช้

การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยเลือกรูปแบบวิธีการ   ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการศึกษาของผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองรับประโยชน์สูงสุด ประกอบด้วย 3 รูปแบบ คือ บ้านเป็นฐานการเรียนรู้ โรงเรียนเป็นฐานการเรียนรู้ และชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้

คำถามท้ายบทที่2
**** ส่งที่อาจารย์ในห้องเรียน****


ผลการประเมิน

การประเมินตนเอง

- ตั้งใจเรียนมีความสุขและมีการโต้ตอบในชั้นเรียน

การประเมินเพื่อน

- ตั้งใจเรียนเป็นส่วนมากแต่ก็มีบางครั้งที่คุยเสียงดังในเวลาเรียน

การประเมินอาจารย์

เข้าสอนตรงเวลา มีวิธีการสอนที่น่าสนใจมีการยกตัวอย่างประกอบการสอนทำให้เข้าใจง่ายขึ้น





การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัยครั้งที่ 1

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 1
วันที่ 8 เดือน สิงหาคม ปี 2559 เวลาเรียน 14:30 - 17:30น. 




ความรู้ที่ได้รับ

- แนะนำรายวิชา ถึงรายระเอียดต่างๆที่จะเรียนกัน
การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย 
ความหมายของผู้ปกครอง
ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นบิดา มารดา หรือบุคคลอื่นที่ให้การอบรมเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่เด็กที่อยู่ในการดูแล ดังนั้นในการกล่าวถึงผู้ปกครองจึงมีความหมายรวมถึงบุคคลที่เป็นพ่อและแม่ด้วย
ความสำคัญของผู้ปกครอ
ผู้ปกครองมีความสำคัญซึ่งมีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นผู้ที่มีความหมายต่อชีวิตเด็กทั้งการเจริญเติบโตทางร่างกายและจิตใจเป็นผู้ที่เด็กมอบความรักด้วยความบริสุทธิ์ใจ ผู้ปกครองจึงเป็นผู้นำที่จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโต มีพัฒนาการที่เหมาะสม เพื่อการก้าวสู่โลกกว้างได้อย่างมั่นคงและมีความพร้อมในทุกด้าน จึงถือว่าผู้ปกครองเป็นผู้เสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้วยความรัก ความเข้าใจให้แก่เด็กตั้งแต่เยาว์วัยเป็นรากฐานอนาคตของสังคมให้มีความสมบูรณ์และแข็งแรง
บทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครอง
1. เป็นแบบอย่างที่ดีของลูก
  2. ให้ความรักและความเข้าใจ
  3. เรียนรู้ร่วมกับเด็ก
  4. ยอมรับอารมณ์และความรู้สึกของลูก
  5. ไม่ปิดกั้นความรู้สึกของลูก
  6. ฝึกให้ลูกรู้จักการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
  7. ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
บทบาทและหน้าที่ด้านการอบรมเลี้ยงดู
ภารกิจของพ่อแม่ ผู้ปกครอง คือ การอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา บทบาทของพ่อแม่ในการเลี้ยงดูเด็กมี 3 ประการ คือ
  1.  เป็นผู้ให้การเลี้ยงดูเพื่อสร้างเสริมสุขภาพกายและใจที่ดีให้กับเด็ก
  2.  เป็นผู้ให้การศึกษาเบื้องต้น
  3.  เป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา
บทบาทและหน้าที่ด้านการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้
การศึกษา ทำความเข้าใจและแสวงหาประสบการณ์ว่าเด็กในแต่ละวันมีพัฒนาการและการเรียนรู้อย่างไร พ่อแม่ ผู้ปกครอง สามารถส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้ลูกได้อย่างถูกวิธี 
บทบาทและหน้าที่ในการส่งเสริมการศึกษา
การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มนุษย์กับการศึกษาเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันตลอดชีวิต พ่อแม่ ผู้ปกครองถือเป็นบุคคลแรกที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริมการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพให้แก่เด็กในแนวทางที่เหมาะสมและช่วยส่งเสริมการศึกษาให้แก่เด็ก
สรุปบทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง 10  ประการ
1.  ให้ความรักและสายสัมพันธ์ในครอบครัว
  2.  ให้ความเอาใจใส่และเอื้ออาทรต่อลูก
  3.  ทำตนให้เป็นแบบที่ดีแก่ลูก
  4.  ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ในสังคมเกี่ยวกับการปฏิบัติตน
  5.  ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้เป็นไปตามวัย
  6.  ให้หลักธรรมในการพัฒนาเด็กด้วยหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)
  7.  ส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย
  8.  ศึกษาการเจริญเติบโตของเด็ก
  9.  เอาใจใส่ดูแลสุขภาพ
  10. สนับสนุนเตรียมความพร้อมก่อนสู่สังคม


คำถามท้ายบท
***ส่งที่อาจารย์ในห้องเรียน***




การนำไปประยุกต์ใช้

ให้ความรู้ให้กับผู้ปกครองเพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทและหน้าที่ของตนเองในการพัฒนาเด็ก เป็นการทำให้ผู้ปกครองจำเป็นต้องแสวงหาองค์ความรู้ที่จำเป็นเพื่อนำมาปฏิบัติใช้ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กในด้านต่างๆ 


ผลการประเมิน

การประเมินตนเอง
- เข้าเรียนตรงเวลา
-ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการตอบคำถามต่างๆในชั้นเรียน


การประเมินเพื่อน
- ส่วนมากมีความตั้งใจเรียนและมีการตอยสนองต่อการสอนของอาจารย์ด้วยการตอบคำถามต่างๆ


การประเมินอาจารย์
-อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา
- อาจารย์ตั้งใจสอนและอธิบายรายละเอียดได้เข้าใจง่ายพร้อมกับมีการยกตัวอย่างทำให้เห็นภาพไปด้วย